Services

Facebook
Twitter
LinkedIn

ติดต่อสอบถาม

เยื่อหุ้มรก (amnion)

เยื่อหุ้มรก (amnion) เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) และชั้นกลาง (mesoderm) เป็นถุงหุ้มอยู่รอบ ๆ  เอมบริโอ  ภายในถุงมีน้ำคร่ำบรรจุอยู่  เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากภายนอก และช่วยปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับเอมบริโอ

เยื่อหุ้มรกมีการแสดงออกของ growth factor หลายชนิดซึ่งมีหน้าที่ในการลดการเกิดการอักเสบและ ป้องกันการเกิด fibrosis ที่เกิดจากการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการรักษาบาดแผลโดยการยับยั้งการทำงานของ proteinase ดังนั้นเยื่อหุ้มรกและเซลล์ที่เกิดจากเยื่อหุ้มรกจึงไม่เกิดการต่อต้านเมื่อมีการปลูกถ่าย ดังนั้น amniotic membrane และ Amnion-derived mesenchymal stem cell (AM-MSCs) จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนำมาใช้ในทางการแพทย์

AM-MSCs สามารถเจริญไปเป็นเซลล์ต่างๆได้ทั้ง 3 germ layers ทั้งที่เป็น endodermal lineage cells, mesodermal lineage cells และ ectodermal lineage cells และเนื่องจาก AM-MSCs เจริญได้มาจากชั้น Ectoderm จึงสามารถ differentiation ไปเป็นเซลล์ประสาทได้ดี นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพบว่า

AM-MSC สามารถ differentiate ไปเป็นเซลล์ในระบบประสาทได้หลายชนิด เช่น astrocytes, oligodendrocytes, และ neurons โดย Eun Young Ki และคณะพบว่า AM-MSCs สามารถ differentiate ไปเป็น Neuronal precursor cell และ Dopaminergic neuronal cell

รวมทั้ง AM-MSCs มีการแสดงออกของ neural stem cell markers Nestin, Sox2, และ Musashi ในปริมาณสูง  มีการแสดงออกของ neurotransmitter factors และหลั่งสารจำพวก neurotrophic factors ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นประสาทให้มีการสร้างเซลล์ประสาท เพื่อป้องกันการตายของเซลล์ประสาทและฟื้นฟูเซลล์ประสาทที่ได้รับความเสียหาย  ดังนั้น มีการใช้ AM-MSC ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทหลายโรค เช่น Parkinson’s disease (PD), stroke, traumatic brain injury (TBI), และ spinal cord injury (SCI)

เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งอื่นๆแล้ว เยื่อหุ้มรกถือเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถผลิต MSCs ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณสมบัติการใช้รักษาโรคต่างๆ รวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทได้เป็นอย่างดี