Natural killer cell
เซลล์ภูมิคุ้มกัน (IMMUNE CELLS)
Large granular lymphocytes, or natural killer (NK) cells, are a type of white blood cell characterized by the presence of large granules containing proteins in their cytoplasm. They make up about 5 to 20 percent of the total white blood cell count in the circulation. NK cells play a crucial role in the immune system’s innate immune response, which can immediately and rapidly destroy infected or cancerous cells without prior sensitization, unlike other immune cells. They are capable of distinguishing between abnormal and normal cells through the action of receptors on their cell surface. The main receptor that distinguishes normal cells from abnormal cells is the Major Histocompatibility Complex (MHC) class I molecule, which is absent or reduced on abnormal cells. Therefore, NK cells do not attack normal cells but only target abnormal cells. Research has shown that a decreased natural cytotoxicity of NK cells is significantly associated with an increased risk of cancer development.
Natural killer (NK) cells found in the body can be divided into 2 subgroups based on the expression of molecules on their cell surface, known as cluster of differentiation (CD): CD56 and CD16. NK cells with low expression of CD56 (CD56dim) and CD16 high (CD16bright) สามารถพบได้ราว 90% ของเซลล์เพชฌฆาตทั้งหมด ในขณะที่ เซลล์เพชฌฆาตที่มีการแสดงออกของ CD56 สูง (CD56bright) and CD16 low (CD16dim) can only be found in about 10% of all natural killer cells. Although both types of natural killer cells play an important role in eliminating abnormal cells, their abilities differ. For example, CD56dim/CD16bright natural killer cells primarily function in eliminating abnormal cells through the Natural cytotoxicity mechanism, while CD56bright/CD16dim natural killer cells primarily function in producing and releasing cytokines, which are a group of proteins that signal between cells to call other immune cells to help eliminate abnormal cells, such as Interferon-γ (IFN-γ) and Tumor necrosis factor-α (TNF-α).

เซลล์เพชฌฆาต (NK CELLS)
เซลล์เพชฌฆาตหรือเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ที่มีส่วนของนิวเคลียสเป็น วงกลมหรือวงรี (Large granular lymphocyte) สามารถพบได้ประมาณร้อยละ 5 ถึง 20 ของปริมาณเม็ดเลือดขาวทั้งหมดในระบบไหลเวียน เซลล์เพชฌฆาตมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดหรือระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Innate immune system) ที่สามารถ ทำลายสิ่งแปลกปลอม เช่น เซลล์ที่ติดเชื้อก่อโรค (Infected cell) และ เซลล์มะเร็ง (Cancer cell) ได้ทันทีและรวดเร็วปราศจากการกระตุ้นโดยเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่น ๆ และสามารถแยกแยะเซลล์แปลกปลอมออกจากเซลล์ปกติได้เป็นอย่างดีผ่านกลไกการทำงานของหน่วยรับความรู้สึก (Receptor) ที่ผิวเซลล์ หน่วยรับความรู้สึกหลักที่เซลล์ปกติมีอยู่บนผิวเซลล์คือ Major histocompatibility complex class I ซึ่งหน่วยรับความรู้สึกนี้จะไม่แสดงออกในเซลล์แปลกปลอม เซลล์เพชฌฆาตจึงไม่ทำลายเซลล์ปกติแต่จะทำลายเฉพาะเซลล์แปลกปลอมเท่านั้น มีงานวิจัยพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เพชฌฆาต (Natural cytotoxicity) ที่ลดลงมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญ

เซลล์เพชฌฆาตที่พบในร่างกายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย โดยอาศัย การแสดงออกของกลุ่มโมเลกุลบนผิวเซลล์ (Cluster of differentiation, CD) ได้แก่ CD56 และ CD16 ซึ่งเซลล์ เพชฌฆาตที่มีการแสดงออกของ CD56 ต่ำ (CD56dim) และ CD16 สูง (CD16bright) สามารถพบได้ราว 90% ของเซลล์เพชฌฆาตทั้งหมด ในขณะที่เซลล์เพชฌฆาตที่มีการแสดงออกของ CD56 สูง (CD56bright) และ CD16 ต่ำ (CD16dim) สามารถพบได้เพียง 10% เท่านั้น แม้ว่าเซลล์เพชฌฆาตทั้งสองกลุ่มมีบทบาทสำคัญในการกำจัดเซลล์แปลกปลอมเช่นเดียวกัน แต่ขีดความสามารถในการทำงานจะแตกต่างกันออกไป เช่น เซลล์ เพชฌฆาต CD56dim/CD16bright จะทำหน้าที่หลักในการกำจัดเซลล์แปลกปลอมด้วยกลไก Natural cytotoxicity ในขณะที่เซลล์เพชฌฆาต CD56bright/CD16dim จะทำหน้าที่หลักในการสร้างและหลั่งไซโตไคน์ (Cytokine) ที่เป็นกลุ่มโปรตีนส่งสัญญาณระหว่างเซลล์เพื่อเรียกให้เซลล์ภูมิคุ้มกันอื่น ๆ มาช่วยกันกำจัดเซลล์แปลกปลอม ไซโตไคน์อาจหมายรวมถึง Interferon-γ (IFN-γ) และ Tumor necrosis factor-α (TNF-α) เป็นต้น
การทำงานของเซลล์เพชฌฆาต
(NK CELL ACTIVITY)
Testing and measuring the efficacy of white blood cells at the Wincell Research laboratory is considered equivalent to the gold standard method. 51Cr release assay, which assesses the ability of NK cells (CD56+) to destroy cancer cells.dim ) Directly, it refers to the Calcein-AM cytotoxicity assay method using a Fluorometer, which is a developed method to avoid the use of radioactive substances, using the same principle as the method. 51Cr release assay but replacing the use of radioactive substances with a light-emitting substance (Calcein-AM), which is a green fluorescent dye with lipid-soluble properties that allow it to penetrate cell membranes well and will be released from cells in case of cell damage, similar to 51Cr After that, we measure the amount of the fluorescent substance and calculate it as a value. NK activity This method is widely accepted and highly accurate, as well as safe for operators.




Natural Killer Cell (NK Cell) is a type of white blood cell in the body that has the ability to destroy cancer cells. It accounts for only 1% of white blood cells in our body and is the only cell that does not have antigen-specific receptors. It has the ability to recognize and target to eliminate cancer cells, pathogens, and various viruses, which are foreign substances that enter our body, quickly and efficiently. Its unique and outstanding feature compared to regular white blood cells is its superior ability to kill cancer cells, almost 100 times more effectively.
จำนวนเซลล์เพชฌฆาต
(NK CELL COUNT)
Counting the number of Natural Killer (NK) cells in the bloodstream helps us understand the risk of developing cancer or infections. It also indicates whether cancer patients are sufficiently prepared and strong enough to undergo treatment such as radiation therapy. Individuals with low levels of NK cells are at a higher risk of developing cancer or infections because NK cells are the first line of defense that detects and destroys cancer cells, viruses, and various pathogens through their unique mechanism. This prevents cancer cells or foreign cells from multiplying uncontrollably. Although counting NK cells is an indicator of the risk of cancer and infection, measuring the function of NK cells (NK Cell Activity) is also an important indicator that should be evaluated alongside the count to assess both the number and the ability of NK cells in each individual.
What do NK Cells in the blood say?
Analyzing the quantity of NK cells in the bloodstream can help determine if you are at risk of cancer or not. Or help decide if the patient is strong enough to be treated with radiation therapy or not? etc.
Patients with NK cell deficiency or low NK cell count are at significantly higher risk of developing cancer. This is because NK cells are the first line of defense in detecting and killing cancer cells before they multiply uncontrollably.
Who is suitable for testing NK cell count and NK activity?
Individuals at risk of developing cancer
This includes risky lifestyle behaviors such as alcohol consumption, smoking, stress, inadequate rest, excessive weight, or a family history of cancer.
Individuals who are cancer patients.
Individuals who frequently fall ill.
Individuals who have had cancer but are now in remission.
เซลล์ที (T CELLS)

เซลล์ทีเป็นกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (specific immune system) ที่พัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด (hematopoietic stem cell) ที่พบอยู่ในไขกระดูก (bone marrow) ของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) เซลล์ทีที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาจากเซลล์ต้นกำเนิดนี้จะเคลื่อนตัวไปยังไทมัส (thymus) อีกหนึ่งโครงสร้างสำคัญในระบบน้ำเหลืองที่เซลล์ทีอาศัยอยู่เพื่อการเจริญเติบโต จึงเป็นที่มาของการเรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า “เซลล์ที” นั่นเอง เซลล์ทีที่เจริญเติบโตเต็มที่และมีความพร้อมในการเผชิญหน้ากับสิ่งแปลกปลอมจะเคลื่อนตัวไปพักที่ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) เพื่อรอทำหน้าที่ต่อไป
จำนวนเซลล์ทีกลุ่มหลัก
(CD3+/CD4+/CD8+ CELL COUNT)

เซลล์ CD3+/CD4+/CD8+ คืออะไร
เซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างจาก Stem Cells ที่อยู่ในไขกระดูกมีหลายชนิด แต่ CD3/CD4/CD8 เกี่ยวข้องกับเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า เซลล์ลิมโฟไซท์ (lymphocyte) ที่แบ่งเป็น B cells และ T cells
โดย B cells ทำหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำที่เรียกว่า แอนติบอดี B cells จะถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน แล้วเปลี่ยนเป็น plasma cells เพื่อสร้างแอนติบอดีที่เฉพาะต่อแอนติเจนนั้น
T cells ทำหน้าที่ตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพ แบ่งเป็น เซลล์ CD4 และ เซลล์ CD8
การตรวจวัดจำนวน CD3/CD4/CD8 ในกระแสเลือด ซึ่งเป็น CD ที่มีความจำเพาะกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดที่ต้องมีการกระตุ้น ( Adaptive Immune Response ) คือ กลุ่มเม็ดเลือดขาว ชนิดที่สร้างแอนติบอดี ( B cells ) หรือ กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นหน่วยความจำ ( T cells ) และมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย

บทบาทหน้าที่ของเซลล์ CD4+
เซลล์ CD4 หรือ helper T (Th) cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD4 อยู่บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ส่งเสริมเม็ดเลือดขาว B cell ในการสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T cell เพื่อเปลี่ยน cytotoxic T cells (CTL) ดังนั้น CD4 จึงมีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
บทบาทหน้าที่ของเซลล์ CD8+
เซลล์ CD8 หรือ killer cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD8 อยู่บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่มีความผิดปกติ หรือติดเชื้อจุลชีพ เซลล์ชนิดนี้จะรู้ว่าเซลล์ไหนเป็นสิ่งแปลกปลอมจากที่เซลล์นั้น ไม่มีโมเลกุลเหมือนเซลล์เม็ดเลือกขาว คือ เซลล์ HLA class I และจะทำการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแอนติเจนจำเพาะ

B cells จะจับแอนติบอดีที่จำเพาะด้วย antibody receptor โดย B- และ T- cells มีโมเลกุล receptors ที่ผิวเซลล์เพื่อจับกับแอนติเจน สำหรับ B-cell เป็นโมเลกุลของอิมมูโนโกลบูลินที่เกาะผิวเซลล์ ส่วนของ T-cell คือ T-cell receptor, TRC หรือ CD3 เป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนกว่า ที่จะจำและจับกับแอนติเจนที่หลากหลาย ถูกนำเสนอโดยantigen-presenting cell เท่านั้น หลังจาก antibody receptor จะนำส่วนแอนติเจนเข้ามาในเซลล์ และเปลี่ยนแปลงที่ผิวเซลล์ร่วมกับโมเลกุล HLA Class II ทำให้ T helper cell มาจับและถูกกระตุ้นด้วยแอนติบอดี จาก B cells T cell หลังจากนั้นจะหลั่งสาร lymphokines ที่ไปสั่งให้ B-cell เปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็น plasma cell เพื่อสร้างแอนติบอดีต่อไป
จำนวนเซลล์ทีควบคุม
(REGULATORY T CELL COUNT)

เซลล์ทีควบคุมคืออะไร
Regulatory T Cell ( Treg cell ) เป็นกลุ่มของเม็ดเลือดขาวกลุ่มหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของลิมโฟไซต์ชนิด T cells แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ CD4+ Treg cells และ CD8+ Treg cells มีหน้าที่ในการรักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยป้องกันไม่ให้ T cells ที่จดจำเซลล์ของร่างกายทำลายเซลล์ของร่างกายตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันของแม่ทำอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ และยังช่วยยับยั้งการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีความไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากกว่าปกติซึ่งเป็นสาเหตุของอาการแพ้หรือหอบหืดอีกด้วย
ทำไมต้องรู้จำนวนเซลล์ทีควบคุม
Treg cell ในร่างกายนั้น มีจำนวนที่แตกต่างกัน กล่าวคือ CD4+Treg cells มีจำนวน 5-10% ของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4+ ทั้งหมด และ CD8+ Treg cells มีจำนวน 0.1-1% ของเม็ดเลือดขาวชนิด CD8+ ทั้งหมด จำนวนของ Treg cells ทั้ง 2 กลุ่มในร่างกายสามารถบอกภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันและโรคมะเร็งได้ โดยที่
- จำนวน Treg cells ที่ต่ำลง : จะทำให้ Treg cells ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะยับยั้งไม่ให้เม็ดเลือดขาวทำลายเซลล์ภายในร่างกายของตนเองได้ จนเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง รวมถึงไม่มีความสามารถเพียงพอในการยับยั้งการทำงานของเซลล์ชนิดอื่นในระบบภูมิคุ้มกัน จึงส่งผลให้เกิดอาการแพ้ หรือก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
- จำนวน Treg cells ที่สูงขึ้น : สามารถบ่งชี้ถึงโอกาสการเป็นโรคมะเร็ง และโรคติดเชื้อไวรัส เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) , ไวรัสตับอักเสบซี (HCV), HIV และ Herpes Simplex Virus ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเริม เนื่องจาก Treg cells ช่วยทำให้เซลล์มะเร็งหรือเชื้อไวรัสสามารถหลบเลี่ยงเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ ส่งผลให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ที่ติดเชื้อดังกล่าวได้

ภาพแสดงกลไกการทำงานร่วมกันของเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อมีการตรวจพบเซลล์มะเร็ง โดยเซลล์ที่มีหน้าที่ในการนำเสนอชิ้นส่วนของสิ่งแปลกปลอม เช่น Dendritic cells หรือ Macrophage นำเสนอชิ้นส่วนของเซลล์มะเร็งให้กับ Treg cells จากนั้น Treg cells จะไปยับยั้งการทำงานของ T cells ส่งผลให้ T cells ไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้
ใครควรตรวจจำนวนเซลล์ทีควบคุม
- บุคคลในครอบครัว หรือญาติพี่น้องมีประวัติเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น SLE
- ผู้ที่อยู่ระหว่างการรักษาโรค ที่เกี่ยวข้องกับภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
- ผู้ที่อยู่ระหว่างการรักษาโรคภูมิแพ้
- ผู้ที่อยู่ระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส ซึ่งสะท้อนถึงภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
- ผู้ที่พักผ่อนน้อย เครียด ขาดการออกกำลังกาย มีปัญหาเรื่องสุขภาพ
- มีภาวะทุพโภชนาการ จากการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน เช่น ขาดการบริโภคผัก หรือผลไม้อย่างเพียงพอ
ทำอย่างไรถึงจะเพิ่มจำนวนเซลล์ทีควบคุมได้
- พบแพทย์เพื่อหาข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองและโรคมะเร็ง
- การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ปรับการบริโภคอาหาร เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือการรับประทานวิตามินเสริมโดยเฉพาะวิตามินเอ
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้าเพื่อให้ร่างกายมีโอกาสได้รับวิตามินดีมากขึ้น
- ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน