การตรวจอายุเซลล์ ด้วยการตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์
(Telomere Length Test)
เทโลเมียร์ (Telomere) คืออะไร
เทโลเมียร์ เป็นส่วนปลายของโครโมโซมที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโครโมโซมจากการหลอมตัวและสลายตัว ในระหว่างกระบวนการแบ่งเซลล์ ช่วยให้เซลล์ทำงานได้ตามปกติและมีอายุขัยที่เหมาะสม ลักษณะของเทโลเมียร์เปรียบได้กับปลอกพลาสติกที่ส่วนปลายของเชือกผูกรองเท้า ซึ่งช่วยให้ปลายสายไม่พันกันหรือหลุดลุ่ย ดังนั้นทุก ๆ ครั้งที่เซลล์แบ่งตัวจะทำให้เทโลเมียร์สั้นลง ความยาวของเทโลเมียร์จึงสามารถบ่งบอกถึงอายุเซลล์ได้ หากเทโลเมียร์ยังยาวแสดงว่าสุขภาพเซลล์และร่างกายอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่เมื่ออายุมากขึ้น เทโลเมียร์จะสั้นลงซึ่งสัมพันธ์กับความเสื่อมของร่างกาย

การตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์
Telomere Length Test เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์ เพื่อประเมิน “อายุเซลล์” โดยการตรวจนี้จะใช้ตัวอย่างเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อตรวจวัดความยาวเฉลี่ยของเทโลเมียร์ จากนั้นค่าที่ได้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลประชากรในช่วงวัยเดียวกัน เพื่อประเมินว่าสุขภาพเซลล์อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือมีแนวโน้มเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
โดย วินเซลล์ รีเซิร์ช ใช้เทคนิคเฉพาะในการตรวจ ที่ใช้ตัวอย่างในการตรวจปริมาณไม่มาก มีการคัดกรอง เปรียบเทียบข้อมูลสุขภาพ และมีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ 2558 เพื่อการประเมินผลภาวะสุขภาพอย่างละเอียด
ทำไมจึงควรตรวจความยาวเทโลเมียร์
- การตรวจความยาวของเทโลเมียร์ช่วยประเมิน “อายุเซลล์” และความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ
- เทโลเมียร์ที่สั้นลงเร็วเกินไปสัมพันธ์กับโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบประสาท และมะเร็งบางชนิด
- ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกาย
- อาจเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาหรือป้องกันโรค
ควรจะตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์บ่อยแค่ไหน
ผู้ที่สนใจ ติดตามความเปลี่ยนแปลงความยาวเทโลเมียร์ ควรตรวจประจำปีละครั้ง แต่ถ้ามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็สามารถตรวจได้ทุก 6 เดือน
การเตรียมตัวก่อนตรวจเทโลเมียร์
- ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนการตรวจ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง และเข้านอนก่อน 22.00 น.
- เลี่ยงอาหารไขมันสูง ของทอด 1-2 วัน ก่อนตรวจ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยรวม
การปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวจะช่วยให้ผลการตรวจความยาวของเทโลเมียร์สามารถสะท้อนสภาวะสุขภาพที่แท้จริงได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยาวเทโลเมียร์
ปัจจัยพื้นฐาน คือ กรรมพันธุ์และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งส่งผลต่อความยาวเทโลเมียร์และอัตราการสั้นลงของเทโลเมียร์ เช่น การสูบบุหรี่ ความอ้วน ความเครียด ปัจจัยอื่น ๆ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การนอน เป็นต้น

ระดับความยาวเทโลเมียร์กับสุขภาพ
ยาวกว่าปกติ
- เซลล์มีความอ่อนเยาว์เสมือนเซลล์ต้นกำเนิด
- เซลล์สามารถแบ่งตัวได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพ
ยาวปกติ
- เซลล์มีความสามารถแบ่งตัวเป็นปกติ
- การปรับปรุงการใช้ชีวิต หรือได้รับ SUPPLEMENT เช่น กลุ่มต้านอนุมูลอิสระจะสามารถช่วยชะลอ
สั้นกว่าปกติ
- เซลล์มีภาวะเสื่อมและอาจตรวจพบการทำงานที่ผิดปกติได้
- ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพโดยละเอียดเพื่อหาแนวทางฟื้นฟูและชะลอความเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นหรือที่กำลังเป็นอยู่
สั้นมาก
- เซลล์มีภาวะเสื่อมขั้นวิกฤตและอาจตรวจพบโรคเสื่อมร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง เป็นต้น
- ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพโดยละเอียดและปรึกษาแพทย์