Services

Facebook
Twitter
LinkedIn

ติดต่อสอบถาม

first line of defense against cancers

 

NK Cell Count

 

Natural Killer Cell หรือ NK Cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวของร่างกายที่มีคุณสมบัติในการทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีสัดส่วนเพียง 1% ของเม็ดเลือดขาว ในร่างกายของเรา และเป็นเซลล์เพียงหนึ่งเดียวที่ไม่มีปฏิกิริยาแอนติเจนและแอนติบอดี ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถแยกแยะและมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อกำจัดและทำลายเซลล์มะเร็ง เชื้อโรค รวมถึงไวรัสชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายของเราได้อย่างรวดเร็ว ตรงจุด อย่างมีประสิทธิภาพสูง และ มีคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นกว่าเม็ดเลือดขาวทั่วไปคือสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าถึงเกือบ 100 เท่า

การตรวจวิเคราะห์ NK cell Count ( CD3-/CD16+/CD56+ )

คือ  การนับจำนวนเซลล์เพชฌฆาต (NK cells) ในกระแสเลือด ช่วยให้เราทราบถึงความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง หรือการติดเชื้อไวรัสต่างๆ  อีกทั้งสามารถบอกอีกด้วยว่าผู้ป่วยมะเร็งมีความพร้อมสมบูรณ์ แข็งแรงเพียงพอหรือไม่ที่จะรักษาด้วยการฉายแสง ผู้ป่วยที่ขาดหรือมีจำนวนของ NK cells ต่ำ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง หรือการติดเชื้อไวรัสต่างๆ  เนื่องจาก NK Cells เป็นด่านแรกที่ทำการตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็ง เชื้อไวรัส เชื้อโรคแปลกปลอมต่างๆ ผ่านกลไกพิเศษเฉพาะของ NK cells เท่านั้น เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งหรือเซลล์แปลกปลอมแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนไม่อาจควบคุมได้  แม้ว่าการตรวจนับจำนวน NK Cells จัดเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งและการติดเชื้อ แต่การตรวจประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เพชฌฆาต ( NK Cell Activity ) ก็เป็นตัวบ่งชี้ที่ควรตรวจควบคู่กัน เพื่อประเมินทั้งจำนวนและความสามารถของเซลล์เพชฌฆาตของแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น

NK Cell function

NK Cell ในเลือดบอกอะไรบ้าง?

การตรวจวิเคราะห์ปริมาณ NK Cells ในกระแสเลือดจะช่วยให้ทราบว่า คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหรือไม่? หรือช่วยในการตัดสินใจว่า ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรักษาด้วยวิธีฉายรังสีหรือไม่? เป็นต้น 

ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องใน NK cell หรือมีจำนวน NK cell ในเลือดต่ำ (NK cell deficiency or low NK cell count) มีความเสี่ยงสูงมากที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจาก NK cell เป็นด่านแรก ที่จะตรวจจับและฆ่าเซลล์มะเร็งก่อนที่เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและควบคุมไม่ได้ในที่สุด

การตรวจ NK Cell Count และ NK Activity เหมาะกับใคร?

ได้แก่ การใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง เช่นดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ น้ำหนักเกิน หรือมีประวัติมะเร็งในครอบครัว